การวิเคาระห์ราคาหลักทรัพย์ด้วยการใช้ P/E Ratio

ปัจจุบันการวิเคราะห์หรือการคาดการณ์ราคาหลักทรัพย์ที่ควรจะเป็นหรือมูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้วิธีอัตราคิดลดของเงินปันผล (Dividend Discount Model)  การใช้วิธีอัตราคิดลดของกระแสเงินสด (Discount  Cash Flow Model)  และการใช้อัตราส่วนทางราคา (Price Multiple Ratio) ต่างๆ อย่างเช่น P/E Ratio และ PVB Ratio เป็นต้น ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงการใช้ P/E Ratio ในการประเมินราคาหุ้นแบบง่ายๆครับ

P/E Ratio = Price / EPS

                โดยที่

P/E Ratio              = อัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น ซึ่งหมายความได้ว่าราคาหุ้นเป็นกี่เท่าของกำไร

Price                    = ราคาหุ้น (ในที่นี้จะเป็นราคหุ้นเป้าหมายที่จะประเมิน)

EPS                     =  Earning  Per Share หรือ กำไรต่อหุ้น  (กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นสามัญชำระแล้วถัวเฉลี่ย)

ตัวอย่างเช่น          ปี 2554  คุณกำลังวิเคราะห์บริษัท X ซึ่งเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงาน  โดยที่มีค่า P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 12.9 เท่า ทั้งนี้บริษัท X มีราคาซื้อขายหุ้นในปัจจุบันที่ 75 บาท โดยที่บริษัทมีกำไรสุทธิในปี 2554 ที่ 500 ล้านบาท และบริษัทมีจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยที่ 100 ล้านหุ้น ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ความสามารถในการดำเนินงานของบริษัทในปี 2556 บริษัท X สามารถทำยอดขายและแสดงผลกำไรได้ที่ 650 ล้านบาท ดังนั้นเราสามารถประเมินราคาหุ้นได้ดังนี้

EPS                           = 650 ล้านบาท / 100 ล้านหุ้น            = 6.5 บาทต่อหุ้น

ฉะนั้น             Price      =             P/E Ratio  x  EPS

=             12.9 เท่า  x 6.5 บาทต่อหุ้น

=             83.85  บาทต่อหุ้น

ดังนั้นเราสามารถประเมินราคาหุ้นคร่าวๆว่า มูลค่าหุ้นที่แท้จริง(Intrinsic Value) ของหุ้นบริษัท X ควรจะเป็นที่ 83.85 บาท และเมื่อเทียบกับราคาซื้อขายในปัจจุบันที่ 75 บาท จะเห็นได้ว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) สูงกว่าราคาซื้อขายปัจจุบัน ซึ่งในกรณีดังกล่าวนักวิเคราะห์จะแนะนำให้เรา “ซื้อ” หุ้นบริษัท X

อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูข้อมูล P/E ของหุ้นนั้นๆตามเวบไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อทำการเปรียบเทียบ P/E ของหุ้น และ P/E เฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้นๆได้  ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วถ้าค่า P/E ของหุ้นนั้นมีค่าสูง หลายๆท่านจะมีมุมมองได้ว่าราคาหุ้นนั้นค่อนข้างแพงก็เป็นได้ และหากค่า P/E ของหุ้นนั้นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก็จะแสดงให้เห็นแนวโน้มของการเติบโตของราคาหุ้นด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ในการการประเมินราคาหุ้นดังกล่าว สิ่งที่มีความสำคัญต่อการประเมินคือ 1.กำไรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 2.ค่า P/E ที่นำมาคำนวณอย่างเหมาะสม เพราะหากเราใช้ข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผลและห่างไกลจากความเป้นจริงในการวิเคราะห์ ผลลัพท์ที่ได้ก็จะไม่มีความถูกต้องอย่างแน่นอน

Challenge Me Tutor

About: arjanfield_adm