The efficient markets hypothesis EMH

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพในอุดมคติ ซึ่งมีนิยามของตลาดที่มีประสิทธิภาพนี้ว่า “หากตลาดมีประสิทธิภาพแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีนักลงทุนทำกำไรได้เหนือตลาดอยู่ตลอดเวลา” ซึ่งระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพ

Weak-Form Efficiency (ระดับอ่อน): ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอดีตได้ถูกสะท้อนอยู่ในราคาตลาดปัจจุบันแล้ว ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในปัจจุบันของราคาหุ้นสามัญจะไม่มีประโยชน์อะไรในการที่จะเลือกลงทุน

–           ทั้งนี้หากเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับอ่อน นักลงทุนจะใช้ Technical (การวิเคราะห์เชิงเทคนิดหรือกราฟ) ในการทำกำไรเหนือตลาดตลอดเวลาไม่ได้

Semistrong-Form Efficiency (ระดับปานกลาง): ราคาปัจจุบันจะสะท้อนข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยให้สาธารณะได้ทราบแล้วทั้งหมด ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะศึกษารายงานประจำปีหรือข้อมูลอื่นของบริษัทที่ได้ประกาศให้คนทั่วไปได้ทราบแล้ว  เพราะราคาตลาดนั้นได้ปรับตัวตั้งแต่บริษัทประกาศออกมาแล้ว

–           ทั้งนี้หากเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง นักลงทุนจะใช้ Fundamental (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) ในการทำกำไรเหนือตลาดตลอดเวลาไม่ได้

Strong-Form Efficiency : ราคาตลาดในปัจจุบันได้สะท้อนข้อมูลข่าวสารทั้งหมด ไม่ว่าจะได้ประกาศให้ทราบแล้ว หรือว่าเป็นข้อมูลภายในก็ตาม ถ้ารูปแบบนี้เป็นจริงก็หมายความว่า แม้แต่ผู้ที่รู้ข้อมูลภายในก็ไม่สามารถที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติได้ในตลาดหลักทรัพย์

–           ทั้งนี้หากเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง นักลงทุนจะใช้ Technical (การวิเคราะห์เชิงเทคนิดหรือกราฟ) และ  Fundamental (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) ในการทำกำไรเหนือตลาดตลอดเวลาไม่ได้

 

Challenge Me Tutor

About: arjanfield_adm