ภาวะเงินฝืดเป็นอย่างไร? เหตุใดคนส่วนใหญ่ถึงกลัว?

ภาวะเงินฝืด หรือชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Deflation คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ ขอย้ำนะคะว่าราคาโดยทั่วไปไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การเกิดภาวะเงินฝืดมาจากหลายประการด้วยกัน  เราตามมาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง?  ตามจริงแล้วภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นมีสาเหตุหลักๆด้วยกัน 2 ด้าน  ได้แก่ เงินฝืดจากด้านอุปทาน  นั่นคือการเพิ่มขึ้นของผลผลิต (productivity) อันเนื่องมาจาก แรงงานมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น หรือ เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น  ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าปรับตัวลง  ทำให้ราคาสินค้าทั่วไปลดลง  ตัวอย่างเช่น  การเปิดประเทศของจีน…

“กองทุนรวม” อีกทางเลือกของการลงทุน

ปัจจุบัน การลงทุนของนักลงทุนหรือนักอดออมเงิน มีหลายทางเลือก เช่นการลงทุนในตราสารทุน การลงทุนในตราสารหนี้ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน และการลงทุนผ่านกองทุนรวม เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้ ผมขอพูดถึงการลงทุนใน “กองทุนรวม” เป็นหลัก เนื่องจากว่า ปกติแล้วนักลงทุนที่มีความรู้จะเลือกลงทุนในหุ้นผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET นั้นเอง แต่หากบุคคลเหน่านั้นอยากลงทุน แต่ไม่มีความรู้…

ขั้นตอนการสมัครสอบ IC Plain

สมัครสอบ IC Plain ได้ 2  สมาคม ได้แก่  1.สมาคมบริษัทจัดการลงทุน    www.aimc.or.th อาคารเลครัชดาออฟฟิส คอมเพล็กซ์ อาคาร 2 ชั้น 3 โทรศัพท์ 0-2264-0900 โทรสาร 0-2264-0904…

บัญชีเพื่อความมั่งคั่ง

หลายคนใช้จ่ายเงินแต่ละวันไม่รู้หรอกว่าจ่ายอะไรไปบ้างเพราะมีเงินในกระเป๋าก็ชื้ออย่างเดียวซื้อทุกอย่างที่อยากได้มาดูอีกทีเงินในกระเป๋าหมดต้องเอาบัตรกดเงินสดเดินไปที่ตู้กันอีกแล้วเป็นหนี้ที่ไม่น่าจะเกิดแต่ก็ต้องเกิดเนื่องจากไม่มีเงินที่จะนำมาใช้อีกท่านรู้หรือเปล่าครับว่าเงินสดพวกนี้ดอกเบี้ยแพงมากโดยที่ท่านไม่รู้ตัวแต่หากคุณใช้เป็นก็มีประโยชน์เช่นเดียวกัน ไม่อยากที่จะกดเงินสดจากบัตรเครดิตต้องทำอย่างไรนั้นง่ายมากครับวันนี้เรานำวิธีที่คนทั่วไปใช้กันนั่นคือบัญชีรายรับรายจ่ายยอมที่จะเสียเวลาหลังเลิกงาน หรือว่าก่อนเข้านอนนั่งเขียนว่าเรามีเงินเท่าไหร่จ่ายเท่าไหร่เหลืออีกกี่วันเงินเดือนจะออกเราต้องประหยัดหรือไม่หรือว่าต้องจ่ายไปตามปกติเราจะต้องซื้ออะไรเข้ามาใช้บ้างอะไรจำเป็นก่อนหลังบางอย่างไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในทันทีอาจจะต้องละไว้ก่อนก็ได้ครับ แล้วจะมั่งคั่งได้อย่างไร ท่านสังเกตหรือไม่ว่าคนที่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะมีเงินเหลือทุกเดือนเพราะเค้ารู้ทุกอย่างที่จ่ายเงินที่จะเก็บเค้าไม่นำมาจ่ายฟุ่มเฟือยเรื่องแบบนี้แม้ว่าจะทำใจยากที่จะละความโลภหรือความสุขเล็กๆน้อยแต่หากห้ามใจได้แล้วคุณจะเป็นคนที่สามารถที่จะชนะใจตัวเองและมีเงินเก็บมีความมั่งคั่งอย่างแน่นอนแม้ว่าจะไม่ได้นำเงินเก็บเหล่านั้นไปต่อยอดเลยก็ตามเก็บทุกเดือนอย่างคุณเก็บเดือนละ2000บาท  หนึ่งปีคุณได้ถึง 24000บาท เลยนะครับถือว่าเยอะมากเงินเหล่านี้นอกจากเก็บไว้แล้วยังเป็นการสำรองยามฉุกเฉินได้อีกด้วยเพราะเราไม่รู้ได้ทุกเรื่องที่จะเกิดขึ้นบางครั้งเราต้องใช้เงินก้อนไปทำอะไรสักอย่างหากเราไม่มีเลยคงลำบากแน่ๆ นอกจากนี้การทำบัญชีส่วนตัวของเราไม่ได้ต่างอะไรกับบริษัททั่วไปที่เค้าต้องรู้รายรับรายจ่ายว่าปีนี้เราได้กำไรเท่าไหร่เสียเงินซื้อของจ่ายค่าจ้าง ค่าเสื่อมราคา เพื่อที่จะนำมาปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในปีต่อไปนั่นเองคุณลองหรือยังลองทำบัญชีอย่างที่เราบอกเครื่องมือมีมากมายไม่ต้องนั่งเขียนให้ปวดหัวโปรแกรมแจกฟรีมีเยอะแยะลองค้นหาดูexcel ก็สะดวกครับ

บริหารเงินยังไงยามเศรษฐกิจไม่ดี

ในยามที่บริษัทของเราย่ำแย่หลายท่านมักจะคิดไม่ตกว่าจะทำอย่างไรดี เงินเดือนพนักงายก็เลื่อนที่จะจ่ายเกินกำหนดเวลาก็ไม่ได้เพราะเนื่องจากว่าความเชื่อมั่นในองค์กรเป็นสิ่งที่ทุกคนคิดไม่เหมือนกันความมั่นในอาจจะลดลงไปเยอะหากพนักงานไม่ได้รับเงินตามกำหนดแม้ว่าหลายคนอาจจะบอกว่าจริงๆแล้วเกินไปสักสองสามวันไม่เป็นไรนั่นคือความคิดผู้บริหารที่ไม่ได้ใส่ใจทุกรายละเอียดเพราะต้องเข้าใจว่าพนักงานไม่ได้มีเงินเหมือนกันทุกคนบางคนต้องผ่อนบัตรตั้งแต่วันที่1บางคนต้องจ่ายค่าห้องเช่าอีก แม้กลุ่มคนเหล่านี้เค้าจะไม่บอกแต่ผมว่าผู้บริหารที่ดีต้องเข้าใจ แนวทางที่จะต้องทำแม้ว่าบริษัทอาจจะต้องหยิบเงินส่วนที่เก็บไว้มาจ่ายผมว่าก็ต้องยอมนะครับหรือว่าหยิบยืมมาก็ต้องทำแล้วมาหาสาเหตุว่าเพราะอะไรรายได้เราลดลงแน่นอนเรื่องเศรษฐกิจเราไม่ได้เป็นตัวกำหนดผลพวกต่างๆมันกระทบกันไปหมดแต่หากเรารู้จักที่จะหาแนวทางปรับตัวก็น่าจะอยู่รอดได้ แต่ก็ต้องอาศัยคนมีวิสัยทัศน์ ในขณะเดียวกันพนักงานที่ดีก็ต้องรู้จักที่จะเข้าใจไม่กดดันบริษัทมากเกินไปเพราะใจจริงแล้วก็ไม่มีใครที่จะให้สิ่งไม่ดีอย่างเลื่อนวันจ่ายเงินเกิดขึ้น มาพูดถึงเรื่องตัวเราเองบ้างยามที่เรามีเงินเก็บเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่การประหยัดและจ่ายสิ่งที่จำเป็นและคุ้มค่าคือเรื่องสำคัญที่สุดสิ่งไหนที่ไม่ควรซื้อก็อดใจข่มใจไว้ก่อนหากวันใดลู่ทางดีขึ้นรายได้มากขึ้นค่อยซื้อก็ได้บางอย่างไม่มีคำว่าสายและอาจจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำอย่างมือถือเราอดทนที่จะซื้อรุ่นนี้เอาไว้รอให้มีเงินเราจะได้รุ่นนี้ในราคาที่ต่ำลงมากกว่าเมื่อก่อนหรือว่าอาจจะได้รุ่นใหม่ที่ราคาเท่ากับรุ่นเก่าก่อนหน้านี้ก็ได้ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วอดทนนิดเดียวมันคุ้มค่านะ มาดูตัวอย่างการบริหารเงินให้ได้รับผลตบแทนคุ้มค่าที่สุดในยามที่เงินมีจำกัดและไม่มีเงินเพิ่มเข้ามาในบัญชีสมมติว่าท่านมีเงิน1000บาท ท่านจะใช้เงินนี้อย่างไรให้อยู่รอดได้ตลอดทั้งเดือนเอาแบบว่าเงิน1000บาทนี้เฉพาะค่ากินอย่างเดียวนะครับ เรื่องการกินก็คงต้องพึ่งพาพวกอาหารสำเร็จรูปนะครับหากเราคิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเรื่องาหารแต่ละมื้อ 30 วันก็ลองเอา 1000/30=30.33 เงินเท่านี้สามารถที่จะกินอาหารได้เพียงวันละมื้อเท่านั้นหากว่าท่านรู้จักบริหารเงินดีกว่านี้แล้วท่านอาจจะมีเงินมากขึ้นหากว่าท่านเคยอ่านสุภาษิตที่เริ่มจากเงินเพียงไม่กี่ตำลึงท่านสามารถที่จะต่อยอดแบบคิดเรื่องหัวการค้ามีเงินน้อยก็ลงทุนน้อยซื้อสินค้ามาขายเมื่อได้กำไรเล็กน้อยก็เอามาทำทุนต่อท่านก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นซึ่งหากว่าท่านคิดได้แบบนี้ไม่นานเงินน้อยในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีก็สามารถที่จะมีมากขึ้นแต่อย่างไรก้ตามต้องใช้เงินซื้อสิ่งของที่สามารถที่จะเป็นความต้องการของคนทั่วไป

ลักษณะการลงทุนที่เหมาะสมกับช่วงอายุในแต่ละวัย

ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนรายใหม่ๆเข้ามาในวงการตลาดทุนของบ้านเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี อันเนื่องมาจากโลกยุคดิจิตอลที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงทุกสื่อและมีอุปกรณ์การสื่อสารมากมายที่อำนวยความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลเหล่านั้น อีกทั้งการลงทุนยังเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเริ่มที่จะมีนักลงทุนอายุน้อยเพิ่มขึ้นมายังต่อเนื่อง ดังนั้น หากพิจารณาถึงช่วงอายุและความเหมาะสมของหลักทรัพย์ที่ลงทุน จะสามารถแบ่งได้ดังนี้ ช่วงที่ 1 หรือ Accumulation Phase (ระยะสะสม) คือ ช่วงที่เริ่มทำงานหรือเริ่มสะสมทุนทรัพย์ อาจมีหนี้สินอาจมากกว่าทรัพย์ มีรายได้น้อย แต่สม่ำเสมอและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ผู้ลงทุนในช่วงอายุนี้มักจะชอบลงทุนประเภทที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การลงที่เหมาะสมควรจะเป็นตราสารทุน…

ผลตอบแทนที่ต้องการหรือคาดหวังจากการลงทุนในตราสารหนี้

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน หลายๆคนอาจจะเคยลงทุนในตราสารหนี้ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือแม้กระทั่งพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ภาคเอกชน ก็ตาม ก็ย่อมจะต้องคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้เหล่านั้น  ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนเห็นและรู้แน่ชัดจากการลงทุนนั้นคือ อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ (ปรากฎแน่ชัดในหน้าตั๋ว หรือ Coupon Rate) แต่สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมนอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย (Coupon Rate) ที่ได้รับนั้นมีอะไรบ้าง?…

The efficient markets hypothesis EMH

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพในอุดมคติ ซึ่งมีนิยามของตลาดที่มีประสิทธิภาพนี้ว่า “หากตลาดมีประสิทธิภาพแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีนักลงทุนทำกำไรได้เหนือตลาดอยู่ตลอดเวลา” ซึ่งระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพ Weak-Form Efficiency (ระดับอ่อน): ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอดีตได้ถูกสะท้อนอยู่ในราคาตลาดปัจจุบันแล้ว ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในปัจจุบันของราคาหุ้นสามัญจะไม่มีประโยชน์อะไรในการที่จะเลือกลงทุน –           ทั้งนี้หากเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับอ่อน นักลงทุนจะใช้ Technical (การวิเคราะห์เชิงเทคนิดหรือกราฟ) ในการทำกำไรเหนือตลาดตลอดเวลาไม่ได้ Semistrong-Form…

Credit Default Swap

Credit Default Swap (CDS) เครื่องมือทางการเงินสำหรับผู้ซื้อตราสารหนี้ Credit Default Swap (CDS) เป็นตราสารอนุพันธ์(Derivatives)  ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญารับประกันความเสี่ยงจากผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้(Debt Issuer) ในกรณีที่ตราสารหนี้นั้นๆเป็นหนี้เสียและผู้ออกตราสารหนี้เบี้ยวไม่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ผู้ซื้อตราสารหนี้  ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในระบบตลาดตราสารหนี้ทั้งในช่วงเศรษฐกิจดีและเศรษฐกิจไม่ดี  ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการซื้อขาย Credit Default Swap…

การวิเคาระห์ราคาหลักทรัพย์ด้วยการใช้ P/E Ratio

ปัจจุบันการวิเคราะห์หรือการคาดการณ์ราคาหลักทรัพย์ที่ควรจะเป็นหรือมูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้วิธีอัตราคิดลดของเงินปันผล (Dividend Discount Model)  การใช้วิธีอัตราคิดลดของกระแสเงินสด (Discount  Cash Flow Model)  และการใช้อัตราส่วนทางราคา (Price Multiple Ratio) ต่างๆ อย่างเช่น…