ลักษณะการลงทุนที่เหมาะสมกับช่วงอายุในแต่ละวัย

ปัจจุบันเริ่มมีนักลงทุนรายใหม่ๆเข้ามาในวงการตลาดทุนของบ้านเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆปี อันเนื่องมาจากโลกยุคดิจิตอลที่ข้อมูลข่าวสารเข้าถึงทุกสื่อและมีอุปกรณ์การสื่อสารมากมายที่อำนวยความสะดวกในการรับรู้ข้อมูลเหล่านั้น อีกทั้งการลงทุนยังเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเริ่มที่จะมีนักลงทุนอายุน้อยเพิ่มขึ้นมายังต่อเนื่อง ดังนั้น หากพิจารณาถึงช่วงอายุและความเหมาะสมของหลักทรัพย์ที่ลงทุน จะสามารถแบ่งได้ดังนี้ ช่วงที่ 1 หรือ Accumulation Phase (ระยะสะสม) คือ ช่วงที่เริ่มทำงานหรือเริ่มสะสมทุนทรัพย์ อาจมีหนี้สินอาจมากกว่าทรัพย์ มีรายได้น้อย แต่สม่ำเสมอและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ผู้ลงทุนในช่วงอายุนี้มักจะชอบลงทุนประเภทที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่า ดังนั้น การลงที่เหมาะสมควรจะเป็นตราสารทุน…

ผลตอบแทนที่ต้องการหรือคาดหวังจากการลงทุนในตราสารหนี้

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน หลายๆคนอาจจะเคยลงทุนในตราสารหนี้ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือแม้กระทั่งพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ภาคเอกชน ก็ตาม ก็ย่อมจะต้องคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้เหล่านั้น  ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนเห็นและรู้แน่ชัดจากการลงทุนนั้นคือ อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ (ปรากฎแน่ชัดในหน้าตั๋ว หรือ Coupon Rate) แต่สิ่งที่นักลงทุนจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมนอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ย (Coupon Rate) ที่ได้รับนั้นมีอะไรบ้าง?…

The efficient markets hypothesis EMH

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพในอุดมคติ ซึ่งมีนิยามของตลาดที่มีประสิทธิภาพนี้ว่า “หากตลาดมีประสิทธิภาพแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีนักลงทุนทำกำไรได้เหนือตลาดอยู่ตลอดเวลา” ซึ่งระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพ Weak-Form Efficiency (ระดับอ่อน): ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอดีตได้ถูกสะท้อนอยู่ในราคาตลาดปัจจุบันแล้ว ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มในปัจจุบันของราคาหุ้นสามัญจะไม่มีประโยชน์อะไรในการที่จะเลือกลงทุน –           ทั้งนี้หากเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับอ่อน นักลงทุนจะใช้ Technical (การวิเคราะห์เชิงเทคนิดหรือกราฟ) ในการทำกำไรเหนือตลาดตลอดเวลาไม่ได้ Semistrong-Form…

Credit Default Swap

Credit Default Swap (CDS) เครื่องมือทางการเงินสำหรับผู้ซื้อตราสารหนี้ Credit Default Swap (CDS) เป็นตราสารอนุพันธ์(Derivatives)  ประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญารับประกันความเสี่ยงจากผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้(Debt Issuer) ในกรณีที่ตราสารหนี้นั้นๆเป็นหนี้เสียและผู้ออกตราสารหนี้เบี้ยวไม่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ผู้ซื้อตราสารหนี้  ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในระบบตลาดตราสารหนี้ทั้งในช่วงเศรษฐกิจดีและเศรษฐกิจไม่ดี  ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการซื้อขาย Credit Default Swap…

การวิเคาระห์ราคาหลักทรัพย์ด้วยการใช้ P/E Ratio

ปัจจุบันการวิเคราะห์หรือการคาดการณ์ราคาหลักทรัพย์ที่ควรจะเป็นหรือมูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic Value) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้วิธีอัตราคิดลดของเงินปันผล (Dividend Discount Model)  การใช้วิธีอัตราคิดลดของกระแสเงินสด (Discount  Cash Flow Model)  และการใช้อัตราส่วนทางราคา (Price Multiple Ratio) ต่างๆ อย่างเช่น…

การวิเคราะห์หลักทรัพย์

การวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ผมจะขอพูดถึงในที่นี้ หมายถึงการวิเคราะห์หุ้นหรือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยทุกวันนี้การลงทุนในหลักทรัพย์โดยเฉพาะหุ้นสามัญ ซึ่งได้รับความนิยม ตลอดจนเป็นแหล่งขุมทรัพย์ที่สำคัญของนักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย และขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งที่ทำให้เสียทรัพย์ได้เช่นกัน  อาทิ ในกรณีการขาดทุนของนักลงทุนเก็งกำไร(Speculator)  หรือแม้แต่การประเมินมูลค่าผิดพลาดของนักลงทุนเน้นคุณค่า(Value Investment)  เป็นต้น เนื่องจากมูลค่าของราคาหลักทรัพย์หรือราคาหุ้นในปัจจุบัน จะวิ่งเข้าหาสู่ราคามูลค่าที่แท้จริง(Intrinsic value)เสมอ  ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดอาชีพนักวิเคราะห์หลักทรัพย์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “Analyst”  โดยนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เหล่านั้นจะความรู้ความสามารถในวิชาทางการเงิน ตลอดจนการตั้งสมมติฐานต่างๆ รวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง…

หลักสูตร Single License กับผู้แนะนำการลงทุน

หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ หรือ หลักสูตร Single License หลักสูตร Single License นี้ เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (ตราสารทุน ตราสารหนี้ และกองทุน) อาทิ เช่น ผู้ที่ต้องการทำงานเป็น Broker แนะนำการซื้อขายหุ้น, ตราสารหนี้  หรือแม้กระทั่งผู้ที่ทำงานสายธนาคารที่ต้องแนะนำการซื้อขายกองทุน …

กำไรทางบัญชีต่างกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร?

กำไรทางบัญชีต่างกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร? ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าหรือการบริการ ย่อมต้องมีการวางแผนและกลยุทธ์ในการแข่งขัน ตลอดจนถึงกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบหลักในการวางแผนเพื่อดำเนินธุรกิจให้เป็นไปยังเป้าหมายนั้นก็คือ การวางแผนทางนโยบายการเงิน โดยเฉพาะการประมาณต้นทุนและรับรู้กำไรที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการวัดผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจของเรา ฉะนั้นกำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐศาสตร์จึงต่างกัน    กำไรทางบัญชี คือ รายได้รวมหักค่าใช้จ่ายรวม จะเป็นการวัดผลการดำเนินงานที่มีเป็นผลลัพธ์เป็นตัวเลขอย่างชัดเจน ตามหลักการบัญชีและมาตรฐานทางบัญชี โดยที่ยังไม่มีการคิดคำนวณถึงผลกระทบทางธุรกิจที่ไม่สามารถวัดค่าได้อย่างเช่นค่าเสียโอกาสเป็นต้น ตัวอย่างที่1   สถาบัน Challenge Me…

จากละครเรื่อง “ขุนศึก” กับ “ความเสี่ยง” และการ “ลงทุน”

จากละครเรื่อง “ขุนศึก” กับ “ความเสี่ยง” และการ “ลงทุน” ไม่ว่าจะยุดสมัยใดก็ตาม คำว่า “High Risk High Return” ยังเป็นคำที่จริงแท้และแน่นอน สมัยก่อนนักรบจะต้องอาศัยความกล้าหาญ กล้าเสี่ยงที่จะทำงานหรือศึกอันตรายต่างๆ เพื่อที่จะได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งหากเป็นผลขาดทุนในที่นี้อาจหมายถึงชีวิตตนเองและครอบครัว หรือหากพ่ายศึกโดยความประมาทก็ต้องโทษอาญาทัพต่างๆ แต่หากทำหน้าที่ประสบผลสำเร็จก็จะได้เลื่อนขั้นและตำแหน่งอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะผู้ที่แสดงฝีมือเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาและเสี่ยงชีวิตเป็นอย่างสูง ปัจจุบันความเสี่ยงในที่นี้เป็นที่รู้จักกันภายใต้ “ความเสี่ยงจากการลงทุน” โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น…

ความเสี่ยง (Risk)

ความเสี่ยง (Risk) ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆในอนาคต บนพื้นฐานความน่าจะเป็นใดๆ ที่มีสิทธิ์จะเกิดขึ้นทั้งหมด ความเสี่ยงในที่นี้มีมากมายหลายลักษณะที่จะนำไปใช้ แต่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยเรื่องความเสี่ยง เคียงข้างการลงทุน ดังคำว่า “High Risk High Return” นั้นเอง และคนจำนวนไม่น้อยครับที่เข้าใจเรื่องความเสี่ยงแบบผิดๆ และมีมุมมองความเสี่ยงในเชิงลบ อย่างตัวอย่างข้อสอบที่ถามว่า “ความเสี่ยงจากการลงทุนคืออะไร” …