อาชีพผู้แนะนำการลงทุน สำคัญอย่างไรกับการวางแผนทางการเงิน และทำไมจึงต้องสอบใบอนุญาตเป็นผู้แนะนำการลงทุนต่างๆ(IC Plain , IC Complex) หรือนักวางแผนทางการลงทุน (IP : Investment Planner)
ปัจจุบันการลงทุนและการวางแผนทางการเงิน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต นอกจากความสำคัญของสุขภาพ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งทำไมทุกคนต้องวางแผนทางการลงทุน?
“อันนี้นับเป็นคำถามคลาสสิกมากๆ เพราะคนที่ถาม มักจะเป็นผู้ที่ไม่ได้วางแผนทางการเงิน หรือวางแผน ก็วางแผนแบบไร้จุดหมายหรือไม่เข้าใจจริงๆ”
เพราะเนื่องจากคนมากมายไม่รู้ว่า การวางแผนทางการเงินคืออะไร? และสำคัญอย่างไร? จึงทำให้เกิดอาชีพทางการเงินมากมาย ที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้คนในสังคมวางแผนทางการเงิน และรักษาสุขภาพทางการเงินของเราได้ อาทิ เช่น
ผู้แนะนำการลงทุน คือผู้ที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร และกองทุนต่างๆ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่แนะนำการลงทุนนั้น จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านหลักทรัพย์ที่ตนเองจะแนะนำให้แก่นักลงทุนในแต่ละบุคคล ซึ่งผู้แนะนำการลงทุนที่เราสามารถตามหาได้เจอทั่วๆไป ก็จะเป็นเจ้าที่หน้าให้คำแนะนำการลงทุนจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งจะเน้นในการลงทุนในกองทุรวม พันธบัตรและหุ้นกู้ ส่วนเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์(บล.) จะแนะนำการลงทุนในตราสารทุนและอนุพันธ์เป็นหลัก เช่นหุ้นสามัญ และใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrant) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Future) เป็นต้น
ซึ่งก่อนที่ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนจะสามารถให้คำแนะนำแก่นักลงทุนได้ ผู้แนะนำการลงทุนจะต้องศึกษาหาความรู้ และจะต้องสอบผ่านหลักสูตรตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กำหนด
โดยอันดับแรก ผู้ที่จะรับหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนได้จะต้องสอบผ่านใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์(แนะนำตราสารทุน ตราสารหนี้และกองทุน) หรือชาวบ้านเรียกกันว่า “IC Plain หรือ Single License”
ซึ่งในกรณีที่ผู้แนะนำการลงทุนท่านนั้นสอบ “IC Plain หรือ Single License” ผ่านแล้ว และต้องการแนะนำการลงทุนในสัญญาล่วงหน้าได้ หรือที่เรียกกันว่า “IC Complex หรือ Derivative License ” จะต้องลงสอบใบอนุญาตนี้เพิ่มเติม และเมื่อสอบผ่าน “IC Plain หรือ Single License” + “IC Complex หรือ Derivative License ” จะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน (ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุนและสัญญาล่วงหน้า) ได้นั้นเองครับ
ทั้งนี้ ใบอนุญาตดังกล่าวข้างต้นไม่ว่าจะเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ หรือผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน ที่จะต้องสอบผ่าน “IC Plain หรือ Single License” และผ่าน “IC Complex หรือ Derivative License ” ก็ตาม ผู้แนะนำการลงทุนเหล่านั้นจะสามารถแนะนำการลงทุนได้แบบทั่วไปเท่านั้น (การแนะนำการลงทุนทั่วไปคือ เป็นการแนะนำเน้นที่จะเสนอหลักทรัพย์ใดๆหลักทรัพย์หนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะบุคคล)
ยังไม่พอครับ…. เมื่อผู้แนะนำการลงทุนท่านนั้น สามารถขึ้นทะเบียนกับทางคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) “เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุนแล้ว” หากผู้แนะนำการลงทุนท่านนั้นต้องการแนะนำการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง(เป็นการแนะนำโดยศึกษาและเลือกหลักทรัพย์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การลงทุนในด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงให้นักลงทุนแต่ละคน) จะต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ให้เป็น “นักวางแผนการลงทุน” หรือ IP License หรือ Investment Planner โดยมีเงื่อนสรุปได้ดังนี้
จะต้องผ่านการทดสอบ 4 ตัวดังนี้
- IC Plain หรือ Single License
- IC Complex หรือ Derivative License
- CPF Certified Financial Planning (เฉพาะ CFP Module 1) เรื่อง พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี จรรยาบรรณ
- CPF Certified Financial Planning (เฉพาะ CFP Module 2) เรื่อง การวางแผนการลงทุน
*ทั้งนี้ หากสามารถผ่านหลักสูตรทดสอบ CPF Certified Financial Planning ได้ครบทุก Module จะสามารถเป็นที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล และจะสามารถใช้คำว่า “CFP” ตามหลังนามสกุลของท่านตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และสมาคมนักวางแผนทางการเงินกำหนดได้
สรุปเงื่อนไขในการสอบใบอนุญาตแต่ละประเภทโดยสังเขป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กว่าจะเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน นักวางแผนทางการเงิน และเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน จะไม่ได้เป็นหรือได้มาง่ายๆ พวกเขาเหล่านั้นจะต้องผ่านบททดสอบทางความรู้ด้านวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งหากเป็นที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล(CFP) จะมีเงื่อนไขในด้านประสบการณ์ทำงานและการวางแผนทางการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องในการประกอบคำพิจารณาให้ได้รับใบอนุญาตอีกด้วย*ในการขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตแต่ละประเภท จะต้องยื่นขออนุญาตกับ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ที่เวบไซต์ www.sec.or.th และโปรดตรวจสอบคุณสมบัติอื่นๆก่อนยื่นคำขออนุญาต
จากเรื่องราวดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า อาชีพทางการเงินมีความหลากหลายมากๆ (ทั้งนี้ผู้เขียนบทความยังไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับใบอนุญาตด้านนักวิเคราะห์นะครับ ^^) และเนื่องด้วยก่อนจะมาทำหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ จะต้องสอบผ่านใบอนุญาตตามที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กำหนด จึงมั่นใจได้ว่า บุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำการลงทุนด้าน มีความรู้ความสามารถที่จะทำให้นักลงทุนมั่นใจได้
ทั้งนี้ผู้แนะนำการลงทุนเอง จะต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในด้านตัวหลักทรัพย์ชนิดต่างๆ เงื่อนไขต่างๆ ข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์ในแต่ละประเภท ด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง ตลอดจนศึกษาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ที่แนะนำการลงทุน รวมไปถึงศึกษาหาความรู้การใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนที่มีประสิทธิภาพต่อไปครับ
หากท่านเป็นนักลงทุน หรือบุคคลที่สนใจการลงทุนและอยากจะเข้ามาทำงานเป็นผู้แนะนำการลงทุน เราได้เปิดอบรมให้ความรู้ปูพื้นฐาน รวมไปถึงติวสอบใบอนุญาตทางการเงิน เพื่อสอบเป็นผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ “IC Plain หรือ Single License” และ ผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน “IC Complex หรือ Derivative License ” (กรณีผ่าน “IC Plain หรือ Single License” แล้ว)
โดยอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ และทำงานในวงการการเงินโดยตรงร่วม 10 ปี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการอบรมติวสอบ เพื่อสอบผ่าน IC Plain และ IC Complex โดยมีเนื้อหากะทัดรัด เข้าใจง่ายแบบบ้านๆ และตรงประเด็นในการเกร็งข้อสอบ มีเทคนิคในการทำข้อสอบให้ตลอดเวลา ซึ่งในแต่ละคอร์สจะรับติวจำนวนจำกัดไม่มาก ทำให้อาจารย์สามารถดูแลทั่วถึง เพื่อความมีประสิทธิภาพในการเรียนและจำนวนคนสอบผ่านสูงสุด “ดังนั้นเราจึงกล้ารับประกัน หากไม่ผ่านสามารถเข้ามาเรียนซ้ำฟรี(ตามเงื่อนไขที่กำหนด) อีกทั้งอาจารย์ของเรายังให้คำปรึกษาในเส้นทางอาชีพทางการเงินแก่ลูกศิษย์ รวมไปถึงผู้ที่สนใจในอาชีพทางการเงินฟรีด้วยครับ
สนใจติดต่อ อาจารย์ฟิวส์
084-6996961
Id line : khofield
ติว Single License หรือ IC License
http://www.challengemetutor.com/index.php?mo=14&newsid=325051
ติว Derivative License หรือ TFEX License
http://www.challengemetutor.com/index.php?mo=14&newsid=360813