Single License – Chapter 3 ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return)
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุน (Equity)
— กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) หรือกำไรจากการขาย
— เงินปันผล (Dividend)
— เงินได้จากการนำผลตอบแทนไปลงทุนต่อ (Reinvestment)
ผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ (Debt)
— กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) หรือกำไรจากการขาย
— เงินได้ดอกเบี้ย (Interest Income) แบ่งออกเป็น
— ดอกเบี้ยคงที่ (Fix Rate) จะกำหนดไว้แน่นอนตลอดอายุตราสารหนี้
— ดอกเบี้ยลอยตัว (Float Rate) จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เช่น MLR MRR
— ไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Rate) จะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยตลอดอายุตราสารหนี้ แต่จะมีราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าหน้าตั๋วเสมอ
— เงินได้จากส่วนลด (Discount)
— เงินได้จากการนำผลตอบแทนไปลงทุนต่อ (Reinvestment)
ประเภทความเสี่ยงจากการลงทุน (Risk)
ความเสี่ยงของดอกเบี้ย (Interest rate Risk)
คือความเสี่ยงของความผันผวนของดอกเบี้ย จากการลงทุนในตราสารหนี้
ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)
คือความเสี่ยงของความผันผวนของสภาวะตลาดที่ลงทุน
ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) หรือความเสี่ยงด้านผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
คือความเสี่ยงด้านคู่สัญญาผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่คืนเงินต้น หรือคู่สัญญาไม่ทำตามสัญญา
ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk)
คือความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาของตราสารหนี้อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทน
ความเสี่ยงจากการนำผลตอบแทนไปลงทุนซ้ำ (Reinvestment)
คือ ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยท้องตลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการนำผลตอบแทนที่ได้ไปลงทุนต่อ
ความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
คือ ความเสี่ยงของการนำหลักทรัพย์ไปขายต่อยังตลาดรอง และหากหลักทรัพย์นั้นๆ ไม่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน
ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
คือ ความเสี่ยงของภาวะที่ราคาสินค้าและบริการมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้อำนาจซื้อของนักลงทุนลดลง ซึ่งในอีกแง่มุม อัตราเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของนักลงทุนอีกด้วย
ความเสี่ยงของการการถือครองหลักทรัพย์ที่มีออปชั่น (Embedded Option Risk)
คือ ความเสี่ยงของการถือครองหลักทรัพย์ที่มีออปชั่นแฝง เช่นการถูกไถ่ถอนก่อนกำหนด (กรณี Callable Bond ผู้ออกจะสามารถใช้สิทธิเรียกตราสารหนี้คืนก่อนครบกำหนดได้) (กรณี Puttable Bond ผู้ซื้อจะสามารถใช้สิทธิขายตราสารหนี้คืนก่อนครบกำหนดได้)